วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

แสดงความคิดเห็นกรณีน.ส. เอ

ไม่เห็นด้วย  กับการใช้เทคโนโลยีในการตัดสินการกระทำของแต่ละบุคคล  เพราะว่าแต่ละบุคคลอาจมีความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารในสิ่งที่จำเป็น หรือติดต่อสื่อสารในงานธุรกิจ  อย่างเช่นกรณีนางสาวเอ  อาจจะมีความจำเป็นในการใช้โทรศัพท์ติดต่อขอความช่วยเหลือ  แต่อาจทำให้กลุ่มผู้ไม่พอใจเห็นภาพ แล้วเกิดความเกลียดชัง  แสดงความคิดเห็นทางอินเตอร์เน็ตอย่างมากมาย จนไม่สามารถแยกได้ว่าสิ่งไหนจริง  สิ่งไหนเท็จ  และในการแสดงความคิดเห็นอย่างรุนแรงทางเว็บไซด์เครือข่ายสังคมออนไลน์ เฟสบุ๊ก  ทำให้ทราบว่ามีกลุ่มผู้เกลียดชัง เห็นได้อย่างชัดเจน ถ้าใช้เทคโนโลยีในการตัดสินจะเห็นว่านางสาวเอเป็นคนไม่ดี เป็นคนเลว ซึ่งเราไม่สามารถทราบความจริงได้โดยการดูจากภาพ  แต่นางสาวเอก็ทำผิดกฎหมาย ก็สมควรจะได้รับโทษทางกฎหมาย 
  วิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ น่าจะอยู่ที่บุคคลควรจะศึกษาการใช้เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม
ออนไลน์  เฟสบุ๊ก  ให้ชัดเจนและเข้าใจรู้วิธีการเล่น  รู้ข้อดีข้อเสียของการเล่น สิ่งที่ควรกระทำและไม่ควรกระทำ เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อตัวเอง  เพราะบุคคลอื่นสามารถรับรู้และเห็นข้อความที่เราเขียนได้ ดังนั้นควรจะให้ความสำคัญการความเข้าใจข้อแนะนำการใช้เว็บไวต์เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟสบุ๊กให้ละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อตัวเอง

นวัตกรรมในท้องถิ่นที่น่าสนใจ

ดอกแวนด้าจากดินไทย

  ดอกแวนด้าจากดินไทยเป็นผลิตภัณฑ์เป็นของใช้ประดับตกแต่งบ้าน หรือทำเป็นของฝาก
ของที่ระลึก  ซึ่งมีความสวยงามมาก คล้ายกับดอกกล้วยไม้ของจริง  ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านประดิษฐ์ขึ้นมามีความประณีต  และมีดอกหลากหลายสี ชาวบ้านจะรวมกลุ่มทำเป็นอาชีพเสริมรายได้  และใช้ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษผสมผสานกับความรู้แบบใหม่
ที่ออกแบบให้มีความสวยงามเป็นที่น่าสนใจ   ดอกแวนด้าจากดินไทยเป็นสินค้าสุดยอด
หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์  ของตำบลปง   สนใจสามารถซื้อได้ที่ กลุ่มรวมใจประดิษฐ์ดอกไม้ดินไทย
  77  บ้านดอนชัย  หมู่ 11  ตำบลปง  อำเภอปง  จังหวัดพะเยา  56140


วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

แผนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์           รายวิชาวิทยาศาสตร์         ชั้นประถมศึกษาปีที่3
ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา 2553            ชื่อหน่วยการเรียนรู้การขึ้น-ตก ของดวงอาทิตย์
เวลา  1  ชั่วโมง                    ครูผู้สอน  นางสาวจินตนา  หมอยาดี              

1. มาตรฐานการเรียนรู้   ตัวชี้วัด
                มฐ. ว 7.1        ตัวชี้วัด  ป.3/1
                มฐ. ว 8.1        ตัวชี้วัด  ป.3/1- ป.3/8
 
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
                ความรู้
1.   อธิบายการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ได้
ทักษะกระบวนการ
1.    สังเกต เปรียบเทียบ  และจำแนก
        2.    การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
        3.    การลงความเห็นจากข้อมูล
4.  กระบวนการกลุ่ม
5.  วาดภาพ
คุณธรรม/จริยธรรม/ค่านิยม
1.    ความรับผิดชอบ
2.    มีจิตวิทยาศาสตร์
3. กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมรวมชั้น 
                แบ่งกลุ่มนักเรียน  เลือกประธานกลุ่ม ชี้แจงบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม
              กิจกรรมกลุ่ม
นักเรียน ร่วมกันอภิปรายการเคลื่อนที่ของโลกรอบตัวเอง  ทำให้เกิดปรากฏการณอะไรบ้าง  ศึกษาใบความรู้  เรื่อง   การขึ้น และตกของดวงอาทิตย์
                กิจกรรมเดี่ยว      
              นักเรียนตอบคำถามลงในใบงานที่ 1   โลกเคลื่อนที่อย่างไร   
กิจกรรมรวมชั้น/สรุปรวม
                1.สุ่มนักเรียนนำเสนอ  สังเกต การนำเสนอผลงานของนักเรียน
                2.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป เกี่ยวกับการหมุนรอบตัวเองของโลก ว่า โลกหมุนทวนเข็มนาฬิกาจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกเมื่อสังเกตจากขั้วเหนือของโลก และโลกหมุนรอบตัวเองไปในทิศเดียวกันกับการโคจรรอบดวงอาทิตย์  คือจากทิศตะวันตกไปตะวันออก
                3.นักเรียนนำผลงานส่งครูหรือนำไปแสดงไว้หน้าชั้นเรียน
4.  ภาระงาน / ชิ้นงาน
                                1. วาดภาพจำลองการเคลื่อนที่ของโลกรอบตัวเองและรอบดวงอาทิตย์
                                2.  สังเกตและวาดภาพการขึ้น และตกของดวงอาทิตย์               
5. แหล่งเรียนรู้/สื่อ
                 1. ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
                      2.  มุมหนังสือวิทยาศาสตร์
                      3. ใบความรู้ที่  1   เรื่อง   การขึ้น และตกของดวงอาทิตย์
                      4.  ใบงานที่  1  เรื่อง  การเคลื่อนที่ของโลก
                      5.  ใบงานที่  2  เรื่อง  การขึ้น และตกของดวงอาทิตย์
6.การวัดและประเมินผล
วิธีวัด
เครื่องมือ
1.การสังเกตพฤติกรรมในการทำกิจกรรม
2.การตรวจผลงาน

1.แบบประเมินพฤติกรรม
2 แบบประเมินผลงาน


7. บันทึกหลังการสอน
                 ผลการสอน...........................................................................................
...............................................................................................................................
..............................................................................................................................
                 ปัญหา / อุปสรรค..................................................................................
...............................................................................................................................
................................................................................................................................
             8.กิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม
..................................................................................................................................
...................................................................................................................................
....................................................................................................................................
....................................................................................................................................
                                                                        ลงชื่อ............................................
                                                                                 (......................................)
                                                                                               (ครูผู้สอน)

              9. ความคิดเห็นผู้บริหาร
....................................................................................................................
....................................................................................................................
...................................................................................................................
....................................................................................................................

                                                                   ลงชื่อ......................................
                                                                       (.........................................)
                                                                           (ผู้บริหารสถานศึกษา)






                                      ใบความรู้ที่  1
                                      เรื่อง  การขึ้น-ตก ของดวงอาทิตย์
     
การขึ้น-ตก และแนวทางการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์
    สาเหตุของการขึ้น-ตกก็เพราะโลกหมุนจากตะวันตกไปตะวันออก   การสังเกต   
แนวทางขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์สามารถทำได้ในวันที่เมฆไม่บังดวงอาทิตย์ตลอดทั้งวัน
  โลกหมุนจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก  การหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เกิด
การขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์   ดวงจันทร์   ตลอดทั้งดวงดาวทั้งหลายบนฟ้าด้วย











                 ใบงานที่ 1
                     เรื่อง      ดวงอาทิตย์
  วันที่...........................เดือน.......................พ.ศ..............
ชื่อกลุ่ม.................................................
สมาชิกในกลุ่ม  1.................................................ประธาน
                         2.................................................สมาชิก
                         3................................................สมาชิก
                         4................................................เลขานุการ
                                                                     
คำชี้แจง    วาดภาพจำลองการเคลื่อนที่ของโลกรอบตัวเองและรอบดวงอาทิตย์

















   ใบงานที่   2
   เรื่อง      การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์
  วันที่..........เดือน............พ.ศ.....
ชื่อกลุ่ม.....................
สมาชิกในกลุ่ม  1................................ประธาน
                        2................................สมาชิก
                        3................................สมาชิก
                        4................................เลขานุการ
                                                                                                              
คำชี้แจง   สังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าจริงในเวลา 1  สัปดาห์  วาดภาพแสดงการขึ้นตกของดวงอาทิตย์



















 

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

           
  คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว 

         จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษหลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
     หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค

                                                                   
                                                                   ยุคที่หนึ่ง (First Generation Computer) พ.ศ. 2489-2501
      ยุคที่สอง (Second Generation Computer) พ.ศ. 2502-2506
      ยุคที่สาม (Third Generation Computer) พ.ศ. 2507-2512
      ยุคที่สี่ (Fourth Generation Computer) พ.ศ. 2513-2532
       ยุคที่ห้า (Fifth Generation Computer) พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน


ยุคที่  1  พ.ศ. 2489-2501
  เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี
จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1   
-ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
-ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
-เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน

ยุคที่ 2 พ.ศ. 2502-2506
มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2

-ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
-เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
-มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
-สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
-เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
ยุคที่ 3 พ.ศ. 2507-2512
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก
นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3

-ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
-ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
-ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป

ยุคที่4  พ.ศ. 2507 - 2512
เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4

ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)
 
ยุคที่5 พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน

โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล

องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่

1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)

คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System)

คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น

3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System)

คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น

4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)

คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น


      ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้

อ้างอิงจาก   http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/menu2.htm

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว




ชื่อ  นางสาวจินตนา    หมอยาดี
ชื่อเล่น เจียว
เกิดวันที่ 16 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ 2530
อายุ 24 ปี
ที่อยู่ 116 หมู่ 1  ตำบลปง   อำเภอปง  จังหวัดพะเยา
อีเมล jintana703@gmail.com
ประวัติการศึกษา
ปริญญาตรี  คณะวิทยาศาสตร์  เอกชีววิทยา  มหาวิทยาลัยนเรศวร
ประวัติการทำงาน
ครูอัตราจ้างโรงเรียนบ้านแม่อิง  อำเภอภูกามยาว  จังหวัดพะเยา